ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

W3C คืออะไร ???

W3C

W3C หรือ World Wide Web Consortium เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ทำงานด้านการพัฒนาเทคโนโลยีเว็บไซต์ นำโดยนาย ทิม เบิร์นเนอร์ ลี ก่อตั้งในปี 1994 และมีองค์กรสมาชิกมากกว่า 450 องค์กร ซึ่งรวมถึงองค์กรอย่าง Microsoft, Sun Microsystems และอื่น ๆ อีกมากมาย องค์กรนี้
ประกอบด้วยสถาบัน 3 สถาบันคือ MIT ในสหรัฐอเมริกา INRIA ในยุโรป และ Keio University ใน
ญี่ปุ่น

มาตรฐานของ W3C มีอะไรบ้าง

1. HTML 4.0 – Hyper Text Markup Language
2. XML 1.0 – Extensible Markup Language
3. XHTML 1.0, 1.1 และ Modularization
4. CSS – Cascading Style Sheets
5. DOM 1 – Document Object Model Level 1


ประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำตามมาตรฐานเว็บ

1. ประโยชน์ต่อซอฟแวร์หรือเครื่องจักร

• Search engine สามารถค้นหาและทำดรรชนีข้อมูลในเว็บได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
• เนื่องจากว่ามาตรฐานเป็นสิ่งที่บราวเซอร์ทุกชนิดเข้าใจ จึงทำให้สามารถเข้าใจโครงสร้างเอกสารเว็บได้ แม้ว่าจะไม่เข้าใจเทคโนโลยีมาตรฐานใหม่ ๆ แต่ก็ยังสามารถ แสดงผลได้
• นักพัฒนาที่ใช้มาตรฐานจะสามารถตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร (validate) ด้วยเครื่องมือที่มีมากมายในอินเตอร์เน็ทได้ ซึ่งช่วยให้การค้นหาข้อผิดพลาดในเว็บของเราได้ง่ายขึ้น
• เอกสารที่ได้มาตรฐานสามารถแปลงไปเป็นเอกสารแบบอื่นได้ง่าย ทำให้เอกสารนั้น ๆใช้งานได้หลายประโยชน์ขึ้น

2. ประโยชน์ต่อผู้ใช้

• ผู้ที่ใช้บราวเซอร์อื่น ๆ ที่แตกต่างไปจากบราวเซอร์ทั่ว ๆ ไปที่เราคุ้นเคยสามารถใช้งานเว็บของเราได้ เช่น คนตาบอดที่ใช้บราวเซอร์เบรลล์หรือ Braille display คนที่ใช้อุปกรณ์พกพาต่าง ๆ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่อาจมีในอนาคต ฯลฯ
• สำหรับการทำธุรกิจแล้ว การปฏิเสธผู้ใช้บางกลุ่มสามารถสร้างความแตกต่างในเรื่องของรายได้อย่างคาดไม่ถึง

3. ความมีเสถียรภาพ

• ข้อมูลหรือเนื้อหาต่าง ๆ ที่ทำตามมาตรฐานจะยังสามารถใช้ได้แม้ว่าเทคโนโลยีใหม่ ๆจะเข้ามาแทน และสามารถแสดงผลลัพธ์ผ่านทางบราวเซอร์ในลักษณะที่ผู้ใช้รับได้ (ไม่น่าเกลียดจนเกินไป) เรียกว่าเป็นการตกยุคอย่างสวยงาม (degrade gracefully)
• เนื่องจากว่า เว็บไซต์หนึ่ง ๆ อาจอยู่นานและมีผู้พัฒนาหลายคน ผู้ที่เข้ามาสานงานต่อจะเข้าใจงานที่มีอยู่ได้ง่ายขึ้นหากโค้ดของเราได้มาตรฐาน

ลองเชคกันดูนะว่าเวปเราผ่านไหม

http://validator.w3.org

Web Standards มาตรฐานเว็บคืออะไร

ในโลกออนไลน์ หรือหลาย ๆ คนอาจรู้จักในนามของ Word Wide Web ที่เรา ๆ ท่าน ๆ คุ้นเคยซึ่งอำนวยความสะดวกให้กับเราอย่างมากมายไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ หรือการศึกษาค้นคว้า ทำให้โลกออนไลน์เจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกัน การสร้างเว็บไซต์ก็มีความจำเป็นต้องมีมาตรฐานเพื่อให้เกิดความสามารถสูงสุด และ เป็นการรับประกันข้อมูลว่าทุกคนสามารถเข้าถึงได้
แล้วมาตรฐานเว็บดีอย่างไร มาตรฐานเว็บจะทำให้การเข้าใช้งานเว็บ สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้นและรวดเร็ว และอีกหลาย ๆ เหตุผลที่นักพัฒนาเว็บต้องใส่ใจ
Web Standards จะสามารถทำให้ Search Engine มีความสามารถในการทำดรรชนีเว็บได้ง่ายขึ้น และ รวดเร็วมากขึ้นรวมไปถึงความแม่นยำในการแสดงผลใน บราวเซอร์ต่าง ๆ กัน
W3C คืออะไร
W3C หรือ World Wide Web Consortium (W3C) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ทำงานด้านการพัฒนาเทคโนโลยีเว็บ โดยนาย ทิม เบิร์นเนอร์ ลี W3C ได้รับการก่อตั้งเมื่อปี 1994 และมีองค์กรสมาชิกมากกว่า 450 องค์กร ซึ่งรวมถึง Microsoft, Sun Microsystems และองค์กรอื่น ๆ อีกมากมาย
W3C ประกอบด้วยสถาบัน 3 สถาบันได้แก่ MIT ในสหรัฐอเมริกา INRIA ในยุรูป และ Keio University ในญี่ปุ่น (มีองค์กรในเอเซียเพียงแห่งเดียวเท่านั้นเหอ ๆ แต่ก็ต้องเป็น ญี่ปุ่นอยู่ดี)

มาตรฐาน W3C มี 5 ภาษาด้วยกันดังนี้

1.? HTML 4.0 : Hyper Text Markup Language
2.? XML 1.0?: Extensible Markup Language
3.? XHTML 1.0,1.1 และ Modularization
4.? CSS : Cascading Style Sheets
5.? DOM 1 : Document Object Model Level 1
แล้วการทำ Web Standards ให้ประโยชน์อะไรกับเราบ้าง และ ให้ประโยชน์กับการทำ Search Engine Optimization (SEO) อย่างไรบ้างเดี๋ยวเรามาดูกันครับ เพื่อเป็นความรู้ในการปรับปรุงและแก้ไขพัฒนาเว็บไซต์หรือ blog ของเราให้กลายเป็น Web Standards ที่ได้รับการรับรอง อันที่จริง blog ส่วนใหญ่ที่พบจะได้รับการรับรองมาตรฐานนี้อยู่แล้วจากการพัฒนา Thems ต่าง ๆ แต่ถ้าเราจะทำการปรับแต่งให้ดียิ่งขึ้นไปอีกเราควรจะทำการปรับแต่งตามหลักการของ W3C ครับเพื่อให้รองรับมาตรฐานดังกล่าว (จริง ๆ ไม่ได้มาตรฐานก็ไม่เป็นไรหนะครับเพียงแต่ว่าการเก็บข้อมูลของ Search Engine จะล่าช้ากว่าเว็บที่ได้มาตรฐานครับ)

ประโยชน์ของ Web Standards มาตรฐานเว็บ

  1. ประโยชน์ต่อซอฟแวร์หรือเครื่องจักร
     – Search Engine สามารถค้นหาและทำดรรชนีข้อมูลในเว็บได้ง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
     – บราวเซอร์ทุกชนิดเข้าใจได้ง่าย ทำให้การเข้าถึงโครงสร้างของเว็บได้ดี และสามารถแสดงผลได้ดีอีกด้วย
     – นักพัฒนาที่ใช้มาตรฐานสามารถตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารได้ด้วยการ Validate จากเครืองมือที่มีมากมายในอินเตอร์เน็ต และสามารถหาข้อผิดพลาดภายในเว็บได้ง่ายขึ้น
    – เอกสารที่ได้มาตรฐาน W3C จะสามารถแปลงไปเป็นเอกสารอื่น ๆ ได้ง่ายและสะดวกต่อประโยชน์การใช้งานที่หลากหลาย
  2. ประโยชน์สำหรับผู้ใช้งาน
    – ผู้ใช้งานสามารถเข้าใช้งานได้สะดวกแม้จะใช้บราวเซอร์ที่แตกต่างจาก บราวเซอร์ทั่ว ๆ ไป เช่น คนตาบอดที่บราวเซอร์เบรลล์ หรือ Braille Display คนที่ใช้อุปกรณ์พกพาต่าง ๆ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่อาจมีในอนาคต ฯลฯ
     – เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ทุกกลุ่มในเชิงธุรกิจ ซึ่งจะก่อให้เกิดรายได้อย่างคาดไม่ถึง
  3. ความมีเสถียรภาพ
    – ข้อมูลหรือเนื้อหาต่าง ๆ ที่ทำตามมาตรฐานสามารถใช้งานได้แม้จะใช้กับเทคโนโลยีใหม่ ๆ
    – สามารถเข้าใจกระบวนการในการพัฒนาได้แม้จะเปลี่ยนผู้พัฒนาเว็บใหม่เข้ามาเนื่องจากใช้มาตรฐานเดียวกัน
Web Standards มาตรฐานเว็บ ถือว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาเว็บทั่ว ๆ ไปในอนาคตซึ่งเราเองจะต้องทำให้เกิดการรองรับระบบต่าง ๆ ที่เป็นเทคโนโลยีใหม่เรียกได้ว่าแม้จะตกยุคก็ยังตกยุคอย่างน่าให้อภัยได้ สำหรับมาตรฐานเว็บนั้นผมคงขอเขียนถึงเพียงเท่านี้ ในครั้งต่อไปเราจะมาทำความรู้จักกับ Web Accessibility กันว่าคืออะไรกันหว่า ? อย่าลืมติดตามนะครับในครั้งต่อไป
?

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เซอร์ทิโมที จอห์น เบอร์เนิร์ส-ลี ผู้คิดค้น www (เวิร์ดไวด์เว็บ)

      เซอร์ทิโมที จอห์น เบอร์เนิร์ส-ลี (Sir Timothy John Berners-Lee, OM, KBE, FRS, FREng, FRSA) (8 มิถุนายน พ.ศ. 2498) ผู้คิดค้นและประดิษฐ์ เวิลด์ไวด์เว็บ ผู้อำนวยการWorld Wide Web Consortium (ทำหน้าที่ดูแลการพัฒนาต่อเนื่องใหม่ ๆ เกี่ยวกับเว็บ) นักวิจัยอาวุโสและผู้นั่งในตำแหน่ง ทรีคอมฟาวน์เดอร์สแชร์ (3Com Founders Chair) ที่หอทดลองวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์แห่งเอ็มไอที (CSAIL)       เซอร์ทิม เบอร์เนิร์ส-ลีเกิดในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นบุตรนายคอนเวย์ เบอร์เนิร์ส-ลี และนางแมรี ลี วูดส์ ทั้งบิดาและมารดาเป็นนักคณิตศาสตร์ที่ทำงานอยู่ในทีมสร้างคอมพิวเตอร์ยุคแรก คือ "แมนเชสเตอร์ มาร์ก 1" ด้วยกัน ทั้งสองได้สอนให้เบอร์เนิร์ส-ลีใช้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันไปทุกเรื่อง แม้แต่บนโต๊ะอาหาร เบอร์เนิร์ส-ลีเข้าโรงเรียนชั้นประถมที่โรงเรียน "ชีนเมาท์" (ซึ่งต่อมาได้อุทิศห้องโถงใหม่ห้องหนึ่งเป็นเกียรติแก่เขา) ก่อนที่จะย้ายไปเรียนต่อระดับโอ. และระดับเอ. ที่โรงเรียนเอ็มมานูเอล ที่วานสเวิร์ท     เบอร์เนิร์ส-ลีเป็นศิษย์เก่าของควีนส์คอลเลจ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดซึ่งเบ

ร้านรับทำตรายาง

  สั่ง ตรายางหมึกในตัว ด่วน คลิ๊ก!!!!  สั่งรอรับ 1 ชม. วันนี้ !!! ร้านตรายาง ฟิงเกอร์ พริ้นต์  รับทำ ตรายางหมึกในตัว ด่วน โรงงานผู้ผลิต ผู้นำเข้าตรายางหมึกในตัว ที่ครบวงจรมากที่สุด ได้รับความไว้วางใจจากหลายภาครัฐ เอกชน ให้ผลิตตรายางหมึกในตัวจำนวนมาก เพราะเรามีเครื่องจักรที่ทันสมัย กำลังผลิตสูง ประสิทธิภาพดี และราคาที่เหมาะสม จึงทำให้ร้านทำตรายาง ฟิงเกอร์ พริ้นต์  ผลิตต่อเนื่องได้ถึง 1-1000 อัน ในเวลาอันรวดเร็ว ทางร้านฟิงเกอร์ พริ้นต์ มีผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ ครบวงจร  รองรับการผลิตตรายางหมึกในตัว ขนาดเล็กมาก ไปจนถึงขนาดหนาและใหญ่ ด้วยระบบตรวจสอบคุณภาพการผลิตทุกชิ้นส่วน เลือกตรายางชนิดอื่น  กดที่นี่ ร้านรับทำตรายางฟิงเกอร์ พริ้นต์ ผู้ผลิต ผู้นำเข้าตรายางหมึกในตัวราคาถูก เราคือผู้เชี่ยวชาญ บริการขึ้นรูปยางทุกชนิด ยินดีให้คำปรึกษาฟรี 970/2 ซอยสุขุมวิท103 (ระหว่างซอยอุดมสุข48-50) ถนนสุขุมวิท  แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพ 10260 โทร: 02-746-5213, 02-746-5214 มือถือ :  081-581-4133 Email : print3950@yahoo.com